กรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์


กรอบเนื้อหาโดยสังเขปของรัฐธรรมนูญตามความคิดของคณะนิติราษฎร์ มีดังต่อไปนี้
รัฐธรรมนูญและเอกสารทางการเมืองที่ใช้เป็นพื้นฐานของการจัดทำรัฐธรรมนูญ
  • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 254๐ ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับพัฒนาการในยุคร่วมสมัย
  • ประกาศคณะราษฎร
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declarati0n 0f Human Rights) ลงวันที่ 1๐ ธันวาคม 1948 ของสหประชาชาติ
คำปรารภของรัฐธรรมนูญ
  • การอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475
  • ความเลวร้ายของรัฐประหารอันก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ในการเมืองไทย
  • การหวนกลับไปหาเจตนารมณ์ของคณะราษฎร และอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร
  • ประกาศหลักการพื้นฐานของราชอาณาจักรไทย
ประเด็นเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูป “สถาบันกษัตริย์ – ศาล – กองทัพ –สถาบันการเมือง” ให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยและนิติรัฐ ดังนี้

หลักการและสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ


หลักการและสาระสำคัญของ
ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ฉบับที่...พ.ศ....

หลักการ
๑.แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๙๑(๑)
๒.ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ภายใต้หลักอำนาจอธิปไตย
    เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
๓.สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ต้องป็นอิสระจากรัฐสภา พรรคการเมือง และนักการเมือง
๔.สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง
    ทุกกลุ่มอาชีพและทุกพื้นที่

โครงสร้างและคุณสมบัติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)
๑.สสร.มีจำนวน ๓๗๕ คน ตามสัดส่วนประชากรเช่นเดียวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง สส.ปัจจุบัน
๒.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สสร. คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ โดยไม่กำหนดวุฒิการศึกษา
๓.สสร.ต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และต้องไม่เป็นกรรมการ หรือ
    เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
๔.ให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นสำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ

·      รัฐธรรมนูญ ต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
·      ประชาชนต้องสามารถกำหนดชะตากรรมและอนาคตของตนเอง




 
สภาประชาชนไทย
เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑
(คณะราษฎร ๒๕๕๕)

ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่...พ.ศ....


(ร่าง)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...)
พุทธศักราช .…
-----------------------------------------
หลักการ

แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙๑ เพื่อให้ประชาชนเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยตรงอย่างแท้จริง มาดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมืองให้ก้าวไกลทันต่อภาวการณ์ปัจจุบัน  เป็นองค์กรในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยต้องให้ ประชาชนเจ้าของประเทศมีส่วนร่วมในการอนุมัติรัฐธรรมนูญ โดยการออกเสียงประชามติ ด้วยเสียงข้างมาก
--------------------------

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     -------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม  ฉบับที่ ... พุทธศักราช
มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓  ให้เพิ่มเติมความในมาตรา ๒๙๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้
มาตรา ๒๙๑/๑ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งประสงค์ลงสมัครให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวนสามร้อยเจ็ดสิบห้าคน  เขตเลือกตั้งเข้ามาให้เป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เขตละหนึ่งคน
หลักเกณฑ์และวิธีการการเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งล่าสุด  ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับโดยให้ใช้บัตรเลือกเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด
มาตรา ๒๙๑/๒ การให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขตามที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอให้รัฐสภาพิจารณาตาม มาตรา ๒๙๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๒๙๑/๓ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เขตละหนึ่งคน 
มาตรา ๒๙๑/๔ ในกรณีที่ตําแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญว่างลง ไม่ว่าด้วยเหตุใด  และยังไม่มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่างให้ สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วย สภาร่างรัฐธรรมนูญเท่าที่มีอยู่  การคํานวณเกณฑ์จํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน  ให้คํานวณจากจํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวนสามร้อยเจ็ดสิบห้าคน
มาตรา ๒๙๑/๕ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  
ผู้ใดประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้ยื่นใบสมัครพร้อมด้วยหลักฐานต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่ตนเกิด ตามแบบและภายในกำหนดวันและเวลาที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องกำหนดวันรับสมัครให้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
มาตรา ๒๙๑/๖ บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
() มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
() มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
() มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
มาตรา ๒๙๑/๗ บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้  
() เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๐๒ () () () () () () () (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓)
() เป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือข้าราชการการเมือง
() เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือข้าราชการการเมืองท้องถิ่น                 
(๔) เป็นตัวแทนสมาชิกพรรคการเมืองหรือพรรคการเมือง




มาตรา ๒๙๑/๘  สภาร่างรัฐธรรมนูญ มีประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนหนึ่ง และรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาร่าง รัฐธรรมนูญ  รองประธานมีอำนาจหน้าที่ตามที่ประธานมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
เมื่อประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานในคราวประชุมนั้น
มาตรา ๒๙๑/๙  สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ๓๐๐ วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเมื่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับโปรดเกล้าฯ
มาตรา ๒๙๑/๑๐ ภายในสามสิบวัน นับแต่การเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนเป็นสำคัญ
ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจาก สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวนสามสิบเจ็ดคน และจากบุคคลภายนอกที่เชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์กฎหมายมหาชน  ด้านสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และมีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือ การร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภากำหนด จำนวนสิบสองคน ในอัตราแต่ละสาขาเท่ากัน
มาตรา ๒๙๑/๑๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงเมื่อ
() สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๙๑ (๗)
() ตาย
() ลาออก
() ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา ๑๐๑ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๒
มาตรา ๒๙๑/๑๒ เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง เว้นแต่อายุของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน
มาตรา ๒๙๑/๑๓ สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ในกรณีดังต่อไปนี้
() สภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
() สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด
() เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
() เมื่อร่างรัฐธรรมนูญตกไป
มาตรา ๒๙๑/๑๔ การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นเหตุ กระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
มาตรา ๒๙๑/๑๕ วิธีการพิจารณาและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ การประชุม การลงมติ การแต่งตั้งกรรมาธิการและการดำเนินการของกรรมาธิการ การรักษาระเบียบ และความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๙๑/๑๖ ในกรณีที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในระหว่าง ปิดสมัยประชุมรัฐสภา ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการ เรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อพิจาณาให้เสร็จตามมาตรา ๒๙๑ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗)
มาตรา ๒๙๑/๑๗ เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เสร็จสิ้นแล้ว ให้ดำเนินการจัดให้มีประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียง ลงคะแนนว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอ  ในการออกเสียงประชามติ หากผลปรากฏว่าประชาชนโดยเสียงข้างมาก เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ เกินกึ่งหนึ่ง ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำบทบัญญัติ มาตรา ๙๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็น ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่ถ้าเสียงข้างมากไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ เป็นจำนวนไม่ถึงหนึ่งในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นอันตกไป
มาตรา ๒๙๑/๑๘ การดำเนินการให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ให้ประธานรัฐสภาประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดวัน ให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ซึ่งจะต้องไม่ก่อนหกสิบวันแต่ไม่ช้ากว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศ ทั้งนี้ วันออกเสียงประชามติต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
 บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ
 หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น 
มาตรา ๒๙๑/๑๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒๒ และ มาตรา ๑๒๓ มาใช้กับการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม  เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๓๑
มาตรา ๒๙๑/๒๐ เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ให้เลขาธิการภสาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่/ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการสภาร่างรัฐะรรมนูญ
มาตรา ๒๙๑/๒๑ ในวาระเริ่มแรก ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวัน และให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ให้แล้วเสร็จ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
” 
มาตรา ๔ ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๒๙๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้




ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
-------------------------------------
ประธานรัฐสภา


หมายเหตุ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้ ได้ยื่นต่อประธานสภาฯ นายสมศักดิ์  เกียรติสุรนนท์
เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๐๐ น.